รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

google    youtube     พสว.       สพม11

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเป็นมา   โครงสร้าง   และความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

ความเป็นมาและความสำคัญ
ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
      จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า “คณะราษฎร” ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
        การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก

       หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
     1. รัฐธรรมนูญมุ่งให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น
     2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
     3. รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและปลูกฝังแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนหรือสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำ
     4. ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
     5. ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวไทยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเคารพต่อกฎหมาย การเสียภาษีอากร การเข้ารับราชการทหาร การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
     6. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ      

โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณษจักรไทย พ.ศ. 2550 วางโครงสร้างการปกครองประเทศไทยไว้ดังนี้
1) รูปแบบของรัฐและระบอบการปกครอง
รัฐ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่ประกอบด้วย ประชากร ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตที่แน่นอนและอยู่ภายใต้รัฐเดียวกัน มีอำนาจอธิปไตยเหนือประชากรของรัฐนั้น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับจนถึงปัจจุบัน บัญญัติไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้” หมายความว่า ประเทศไทยจะแบ่งแยกออกเป็นรัฐหลายรัฐหรือเป็นไทยตอนเหนือตอนใต้ไม่ได้
ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดที่มาจากปวงชนชาวไทยโดยมีพระมหากษัตริย์ ทางเป็นประมุข พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ซึ่งอำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 อำนาจดังนี้

2) สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เป็นต้น เสรีภาพและหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆอันไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น การจัดตั้งพรรคการเมือง เสียภาษีอากร และการใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
3) แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวนฌยบายพื้นฐานของรัฐ เช่น รัฐจะต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร รัฐต้องจักให้มีกองกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4) รัฐสภา
รัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 48 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 แบบคือ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จำนวน 80 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ไม่ว่าจะได้มาในลักษณะใดก็มีศักดิ์และสิทธิแห่งการเป็นสมาชิกรัฐสภาประเภท นั้น ๆโดยเสมอกันและเท่าเทียมกันทุกประการ
5) พระมหากษัตริย์
หลักการสำคัญของคณะราษฏรที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังอยู่ในฐานะที่ปวงชนชาวไทยให้การเคารพสักการะเทอดไว้เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับจนถึงปัจจุบันจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ตลอดมา ดังนี้
     1. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิใด ผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
     2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถมภก คือพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา และทรงอุปภัมภ์ทุกศาสนาที่ชาวไทยนับถือ โดยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 9 ระบุว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์แล้ว จะทรงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นมิได้
     3. พระมหากษํตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
     4. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
     5. พระมหากษัตริย์ทรงสามารถมีพระราชวินิจฉัยแต่งตั้งคณะองคมนตรี เพื่อเป็นที่ปรึกษาพระราชกรณียกิจและหน้าที่อื่น ๆตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พอสรุปโดย สังเขป ดังนี้
รัฐสภา

1.รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร

2.ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานสภา ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

3.ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

4.ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 99 จำนวน 100 คน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี

5.พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ภายใน 60 วัน

6.ประชาชนมีสิทธิเสมอกันในการเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

7.มติของสภาให้ถือตามเสียงข้างมากคือ จำนวนเสียงที่ลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่ร่วมประชุม อยู่ในสภานั้น

8.ในแต่ละปีให้มีการเปิดสมัยประชุม 2 ครั้ง ครั้งละ 120 วัน

คณะรัฐมนตรี

1. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน แต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และรัฐมนตรี 35 คน ซึ่งอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่เป็นก็ได้

2.ประธานรัฐสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูล เกล้าเสนอ

3.รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ และหากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องลาออกภายใน 30 วัน

4.ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา

5. รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์

  • มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด

  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

  • ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง

  • ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวัน ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี

6. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เมื่อ

  • สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุเมื่อครบวาระ 4 ปี หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

  • คณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ

  • ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง

7. รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว เมื่อ

  • ตายหรือลาออก

  • ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม

  • สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นการเฉพาะตัว

  • ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตามความผิดที่กระทำไปในขณะดำรงตำแหน่ง

ศาล

1.การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาล

2.ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรม

3.ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานรัฐธรรมนูญ 1 คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

4.ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือเป็นอันตกไป

5.ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น

6.ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา

7.ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมือง  การเลือกตั้ง  รัฐบาล 

พรรคการเมือง คือ องค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และมีเป้าหมายเพื่อได้อำนาจทางการเมืองในรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมืองส่วนมากจะเป็นผลรวมของความต้องการภายในพรรค ซึ่งเมื่อพิจารณาสมาชิกพรรคแต่ละคนแล้ว อาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมากก็ได้

ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์

บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง

1) วางนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และแถลงนโยบายเหล่านั้นให้ประชนรับทราบ เพื่อจะได้พิจารณาว่าควรจะสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆหรือไม่ นโยบายของพรรคดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนหรือไม่
2) พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ในระดับชาติและท้องถิ่น หรือ ในกรณีที่ได้เข้าไปเป็นรัฐบาล พรรคก็จะทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ทางการเมืองในคณะรัฐบาล
 3) ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง โดยพยายามเข้าถึงประชาชน รับฟังความคิดของกลุ่มต่างๆในสังคม และทำการประสานประโยชน์กับกลุ่มต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด
4) นำนโยบายของพรรคที่ได้แถลงต่อประชาชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ประชาชนสนับสนุนพรรคด้วยการเลือกตัวแทนที่มาจากพรรคของตนไปนั่งในรัฐสภา                      
5) ให้การศึกษาและอบรมความรู้ทางการเมืองให้กับประชาชนโดยทั่วไปและสมาชิกพรรค ด้วยการให้ข้อมูลกับประชาชนเพื่อให้มีความรู้ทางการเมือง            
6) หน้าที่ในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล เพราะว่านโยบายต่างๆของรัฐบาลก็ต้องคอยตรวจสอบดูว่า รัฐบาลได้ดำเนินงานตามนโยบายที่แถลงไว้หรือไม่ ซึ่งเราจะเห็นไดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ลักษณะดังกล่าวเป็นการควบคุมนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงการณ์ไว้กับรัฐสภา

 รัฐบาล

โดยปกติรัฐบาลจะประกอบคณะรัฐมนตรีจำนวน 18-19 คน รัฐมนตรีแต่ละคนมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระทรวงภายใต้สังกัด โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล

พรรคการเมืองมีความกระตือรือร้นในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปกครองที่ตนคาดหวังจากนอร์เวย์ และพรรคการเมืองส่วนใหญ่ต้องการอยู่ฝ่ายรัฐบาล เมื่อพรรคการเมืองต่างพรรคร่วมกันก่อตั้งรัฐบาลเราเรียกว่าคณะร่วมรัฐบาล หากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลได้เสียงข้างมากในสภา  เราเรียกว่ารัฐบาลเสียงข้างมาก หากพรรคการเมืองที่ร่วมกันก่อตั้งรัฐบาลมีเสียงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภา  เราเรียกว่ารัฐบาลเสียงข้างน้อย

หน้าที่ของรัฐบาลที่สำคัญคือเสนอกฎหมายและแก้ไขกฎหมาย สภาเป็นผู้ออกกฎหมาย หน้าที่ของรัฐบาลคือตรวจสอบให้แน่ใจว่ามติที่เห็นชอบจากสภา ได้มีการปฏิบัติตาม นอกจากนี้รัฐบาลยังมีหน้าที่จัดทำงบประมาณของประเทศ

พรรคการเมืองที่ได้นั่งในสภา แต่ไม่ใช่สมาชิกรัฐบาลถือเป็นฝ่ายค้าน คนกลุ่มนี้มีหน้าที่กดดันรัฐบาลเพื่อให้มีการดำเนินการตามแผนงานในส่วนของตน

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

                ในอดีตอำนาจรัฐที่มีอยู่เหนือประชาชนนั้นมีมากและกว้างขวางอย่างยิ่ง  การใช้อำนาจดังกล่าวทั้งโดยฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายประจำอาจเป็นที่มาของประโยชน์ที่มิชอบ  จึงได้มีการแก้ไขสภาพที่ไม่พึงประสงค์ข้างต้น  โดยกำหนดการควบคุมอำนาจรัฐให้ครบถ้วนทุกด้านทั้งด้านการเมือง  โดยกระบวนการทางรัฐสภาและด้านกฎหมาย  โดยมีการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทั้งในรูปของศาลและองค์กรอิสระต่างๆ

Leave a comment