วัฒนธรรมภาคกลาง

ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย
เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง”
อาหารภาคเหนือ
ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ ถั่วเน่าในการปรุงอาหารคนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้าน ที่มีกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม
เครื่องดนตรี
สะล้อหรือ ทะล้อ
เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว
ซึง
เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง
ขลุ่ย
เช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง

ปี่
เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง
ปี่แน
มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว
กลองเต่งถิ้ง
เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน
ตะหลดปด หรือมะหลดปด
เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร
กลองตึ่งโนง
เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตร
กลองสะบัดชัยโบราณ
เป็นกลองที่ มีมานานแล้ว นับหลายศตวรรษ
ขอขอบคุณข้อมูล http://meannakom.blogspot.com/2010/01/17-1.html

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ
– วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา

– วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ
1. โนรา  เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา
ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา มีความเป็นมาหลายตำนานในแต่ละจังหวัด ทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน
จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ อาทิ ท่าลีลาของสัตว์บางชนิด เช่น ท่ามัจฉา ท่ากวางเดินดง ท่านกแขกเต้าเข้ารัง ท่าหงส์บิน ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด ท่ากระต่ายชมจันทร์
ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มีท่าพระลักษณ์แผลงศร พระรามน้าวศิลป์ และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร ท่ารำและศิลปะการรำต่าง ๆ ของโนรา ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย

        2. รองเง็ง การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า 10 เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง 7 เพลงเท่านั้น

      3. ระบำตารีกีปัส ตารีกีปัสเป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี สำหรับลีลาของการแสดงอาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน

     4. ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
ขอขอบคุณข้อมูล http://travel.kapook.com/view48081.html

รอบรู้เมืองไทย

ในสมัยเด็กๆ หลายคนอาจจะต้องท่องจำว่า ใครคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ แม้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หลายคนก็ยังจำได้อยู่ แต่หลายคนก็อาจจะลืมเลือน ดังนั้น เพื่อเป็นการทบทวนความจำ ทั้งความรู้เก่าและเกร็ดความรู้ใหม่ ที่บางคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนเกี่ยวกับประเทศไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำสาระบางส่วนจากหนังสือ ความรู้รอบตัว รอบรู้เรื่องเมืองไทย ของฝ่ายวิชาการชมรมเด็ก ซึ่งจัดพิมพ์โดยสุวีริยาสาส์น มาเพื่อเสนอดังต่อไปนี้
                                                       แบบเรียนเล่มแรกของไทย
แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ “จินดามณี” แต่งโดย พระมหาราชครู กวีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี พ.ศ. 2199 – 2231)
                                                        ถนนสายแรกในเมืองไทย
ถนนสายแรกในเมืองไทย คือ ถนนเจริญกรุง (New Road) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2404 โดยต่อมาได้มีการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร รวมทั้งถนนพระราม 4 และถนนสีลมในเขตชานพระนคร
                                                         น้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรก
น้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2410 สันนิษฐานว่า ผลิตที่สิงคโปร์แล้วส่งมาถวาย โดยใส่หีบกลบขี้เลื่อย คนเฒ่าคนแก่ในสมัยนั้น ไม่เชื่อว่าจะทำน้ำแข็งได้จริง ถึงกับออกปากว่า “จะปั้นน้ำเป็นตัวได้อย่างไร”
                     พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จประพาสต่างประเทศ
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จประพาสต่างประเทศคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเสด็จประพาสสิงคโปร์เป็นแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2413 และเสด็จชวาด้วย
                                               ผู้ที่ประพันธ์เพลงสรรเสริญพระบารมี
ผู้ที่ประพันธ์เพลงสรรเสริญพระบารมี คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โดยมีนายปโยตร์ ซูโรฟสกี้ (Pyotr Shchurovsky) ชาวรัสเซีย แต่งทำนองเพลงขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2431
                                               ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทย
ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พิมพ์ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2445 โดยก่อนหน้านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการผลิตธนบัตร หรือเงินกระดาษออกใช้เป็นครั้งแรก ในเมืองไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2396 แต่เรียกว่า “หมาย” ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาวรูปสี่เหลี่ยม พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกทั้งสองด้าน และประทับตรา พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตราจักร และพระราชลัญจกรประจำรัชกาลสีแดงชาด (ลัญจกร อ่านว่า ลัน-จะ-กอน แปลว่า ตราสำหรับใช้ตีหรือประทับ ราชาศัพท์ใช้คำว่า พระราชลัญจกร)

ขอขอบคุณข้อมูล

http://blog.eduzones.com/rangsit/17265

ที่มา http://www.whitemedia.org/wma/content/view/3296/17/

ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ

            ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ

bangkok
กรุงเทพมหานคร อมรรัตรโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์
อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์
คำอ่านภาษาไทย
กรุงเทบมะหานะคอน อะมอนรัดตระนะโกสิน มะหินทรายุดทะยา มะหาดิลกพบ นบพะรัดราดชะทานีบูรีรม
อุดมราดชะนิเวดมะหาสะถาน อะมอนพิมานอะวะตานสะถิด สักกะทัดติยะวิดสะนุกำประสิด
คำอ่านภาษาอังกฤษ
KRUNGTHEPMAHANAKHON AMONRATTANAKOSIN MAHINTHRAYUTTHAYA MAHADILOKPHOP
NOPPHARATRATCHATHANIBURIROM UDOMRATCHANIWETMAHASATHAN AMONPHIMAN – AWA
– TANSATHIT SAKKATHATIYAWITSANUKAMPRASIT

ขอขอบคุณข้อมูล

http://www.viboon.com    และ   http://school.obec.go.th/nkwy/tiplearn/old/pages/bangkok.htm

 

O-NET ปรับใหม่ให้ 1 วิชามีข้อสอบ 6 ชุด เริ่มใช้ปีนี้ !!

นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้โรงเรียนใช้คะแนน O-NET 20% ในการจบช่วงชั้น ป.6, ม.3 และม.6 ในปีการศึกษา 2555 นั้น ขณะนี้พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร ดังนั้น สทศ.จะเร่งประชาสัมพันธ์ เชิงรุกเพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบว่า ในการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2555 ซึ่งจะจัดสอบในเดือน ก.พ.56 มีความสำคัญต่อนักเรียนมาก โดย สทศ.จะเดินสายชี้แจงเรื่องนี้ทุกเวทีที่มีการประชุมของ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้กำหนดนโยบายการจัดสอบ O-NET แบบเข้มข้น โดยมีการเพิ่มชุดข้อสอบจากเดิมที่มี 2 ชุด จะเพิ่มเป็น 6 ชุด แต่รูปแบบข้อสอบยังเหมือนเดิม คือ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก ปรนัยหลายตัวเลือก และเลือกคำตอบที่เหมาะสมกับช่องว่างและระบายลงในคำตอบ และรูปแบบอื่นๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ให้ระบายค่าตัวเลขที่เป็นคำตอบ และให้เลือกคำตอบมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งแต่ละวิชาจะต้องมีไม่เกิน 2 รูปแบบ

ขณะที่ศูนย์สอบ ต้องตั้งกรรมการกลาง โดยครูที่สอนในโรงเรียนที่เป็นศูนย์สอบ จะไม่ได้คุมสอบนักเรียนของตนเอง แต่จะต้องไปคุมสอบที่โรงเรียนอื่น โดย สทศ.จะดูแลจัดรถรับส่งให้ รวมถึงส่งผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ตรวจสอบมากขึ้น ส่วนกล่องข้อสอบ นั้นจะส่งถึงสนามสอบในวันสอบเท่านั้น สำหรับสนามสอบที่อยู่ห่างไกล จะมีศูนย์สอบย่อย เพื่อพักกล่องข้อสอบ โดยกล่องข้อสอบจะไม่ค้างอยู่ในสนามสอบเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ

ขอขอบคุณข้อมูล  http://www.dek-d.com/content/admissions/30315/

สังคมไทยในปัจจุบัน

                                                     สังคมไทยในปัจจุบัน

                 ประเทศไทยปัจุบันเปลี่ยนเเปลงไป          เพราะอะไรเพราะคนไทยเห็นเเก่ตัว

ต่างเเบ่งพรรคเเบ่งพวกจนปวดหัว             คิดเเล้วกลัวสงสารสังคมไทย

ยิ่งมีการประท้วงรวมฝูงชน                       ทำให้คนยิ่งเเตกเเยกกันไปใหญ่
นี่นะหรือคือประชาธิปไตย                                ที่คนไทยรวมใจกันสร้างขึ้นมา

                 ต่อไปนี้เราจงเปลี่ยนความคิดใหม่            มาร่วมใจหาทางเเก้ปัญหา
ร่วมสร้างสรรค์ความคิดด้วยปัญญา                     เพื่อรักษาชาติไทยให้ยั่งยืน

                  มีปัญหาก็ไม่หาทางเเก้ไข                        กลับไปใช้กำลังเเก้ปัญหา
เอาเเต่พูดเสียดสีกันไปมา                                   วันข้างหน้าไทยจะเป็นอย่างไร

ขอขอบคุณข้อมูล  http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1149617

Hello world!

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!